ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบ/กฎหมายต่างๆของสิงคโปร์

1) Business Registration Act รายละเอียดที่เว็บไซต์(www.acra.gov.sg/legislation/Business_Registration_act/) และ Companies Act รายละเอียดที่เว็บไซต์ (www.acra.gov.sg/legislation/Companies_Act/)

2) Food Regulations (Sale of Food Act) สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.sfa.gov.sg ซึ่งข้อมูลหัวข้อประกอบด้วย General Provisions, Food Additives,  Constituents  in  Food,  Mineral  Hydrocarbons,  Containers  for  Food, Irradiated Food, Standards and Particular Labelling Requirements for Food, Aerating Ingredients, Meat and Meat Products, Fish and Fish Products, Edible Fats and Oils, Milk and Milk Products, Ice-cream, Frozen Confections and Related Products, Sauce, Vinegar and Relishes, Sugar and Sugar Products, Tea/Coffee and Cocoa, Fruit Juices and Fruit Cordials, Jams, Non-alcoholic Drinks, Alcoholic Drinks, Salts, Spices and Condiments, Flavouring Essences or Extracts, Flavour Enhancers, Special Purpose Foods, Miscellaneous Foods, Rice and Penalty

3) Currency Act ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Currency Act – Singapore Statutes Online (agc.gov.sg)

4) Commodity Trading Act ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Commodity Trading Act – Singapore Statutes Online (agc.gov.sg)

5) Control of Manufacture Act ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Control of Manufacture Act – Singapore Statutes Online (agc.gov.sg)

6) Sale of Goods Act ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Sale of Goods Act – Singapore Statutes Online (agc.gov.sg)

7) Consumer Protection (Fair Trading) Act ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.mti.gov.sg

8) The Tobacco Act ประกอบด้วย

–  The Control of Licensing of Importers, Wholesalers and Retailers, Regulations 2010 Cap. 309, S 478/2010

–  The Control of Limits on Certain Substances, Regulations 2010 Cap. 309, S 479/2010

–  The Control of Labelling, Regulations 2012 Cap. 309, S 419/2012

HSA | Overview of tobacco controlHSA | Overview of tobacco control

9) SDPC (Singapore Duty-Paid Cigarette) Cigarette Marking Regulation ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2556 หน่วยงานศุลกากรสิงคโปร์กำหนดให้บุหรี่ที่จำหน่ายในประเทศสิงคโปร์ ต้องมีเครื่องหมาย ‘SDPC’ (Singapore Duty-Paid Cigarettes)  ทั้งนี้ บุหรี่ที่ไม่มีเครื่องหมาย ‘SDPC’ จะถือว่าเป็นบุหรี่ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการซื้อ การจำหน่าย การขนส่ง การเก็บ และการครอบครองบุหรี่ที่ไม่ได้เสียภาษี ถือว่าเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรงภายใต้กฎหมาย The Customs Act and The Goods andServices Tax (GST) Act โดยผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษปรับถึง 40 เท่าของจำนวนภาษีที่หลบเลี่ยง และ/หรือ จำคุก 6 ปี ซึ่งการกระทำผิดครั้งแรกจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และสำหรับการกระทำผิดครั้งต่อๆไปจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และอาจถูกจำคุกด้วย อีกทั้ง พาหนะที่ใช้ในการลำเลียงของเลี่ยงภาษีอาจถูกริบด้วย

มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barrier : NTB)

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในเรื่องการผลิตสินค้าเพื่อให้สามารถนำเข้าไปจำหน่ายในสิงคโปร์ได้อย่างสะดวก ซึ่งผู้ผลิตไทยควรต้องศึกษาในส่วนของมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีไว้ด้วย โดยสรุปสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี  ดังนี้

1) สินค้าอาหาร หน่วยงานที่ควบคุมดูแล คือ Agri-Food Veterinary Authority (AVA) โดยให้ความสำคัญด้านสุขอนามัย ให้เป็นไปตามระเบียบของ Food Regulations ซึ่งเจ้าหน้าที่ AVA จะทำการสุ่มตรวจสอบสินค้าเป็นระยะๆ สินค้าส่วนใหญ่ที่ AVA มุ่งเน้นในการตรวจสอบ ได้แก่ ผัก ผลไม้ สัตว์ปีกแช่เย็น/แช่แข็ง เนื้อสุกรแปรรูป น้ำตาลทราย เป็นต้น

2) สินค้าข้าว เสมือนเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายการทำธุรกิจให้แก่ผู้นำเข้า ซึ่งผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ Rice Stockpile Scheme (RSS) กำหนดเรื่องการเก็บสต๊อกข้าวตามกฎหมาย Price Control (Rice) 1990 และ Price Control Act (Chapter 244) เพื่อให้มีข้าวในตลาดเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ การเก็บสำรองข้าวต้องเก็บไว้ในโกดังของรัฐบาล (Singapore Storage & Warehouse Pte., Ltd. : SSW)  ควบคุมโดย IE Singapore ในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณข้าวที่นำเข้าในแต่ละครั้ง  โดยข้าวที่ต้องมีการสำรอง ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาว ข้าวหัก Basmati Rice, Parboiled Rice และ Ponni Rice ทั้งนี้กำหนดปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ 50 เมตริกตัน/เดือน สำหรับข้าวกล้อง (Brown Rice) และข้าวเหนียว (Glutinous Rice) ต้องทำการสำรองไว้ 5 เมตริกตันทั้งนี้ กำหนดให้การส่งเอกสารขอรับการอนุญาตให้นำเข้าในแต่ละครั้ง (Permit Declaration) ผู้นำเข้าจะต้องส่งเอกสารทางระบบ Tradenet เท่านั้น (เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554)

3) ฉลากบรรจุภัณฑ์ (Labelling) มีข้อกำหนดที่ผู้ผลิตพึงถือปฏิบัติคือ Labelling Requirements ที่ต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 mm. และมีรายละเอียดตามข้อกำหนดแสดงครบถ้วน ดูรายละเอียดได้ที่ SFA | Labelling Guidelines for Food Importers & Manufacturers

กฎ/ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า

การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดสิงคโปร์ ผู้ที่ประสงค์จะนำเข้าสินค้าจะต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามกฎ/ระเบียบ ดังนี้

1) ขอจดทะเบียนบริษัทที่หน่วยงาน Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) ก่อน โดยสามารถยื่นใบสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.bizfile.gov.sg นอกจากนี้บริษัทต้องแต่งตั้งผู้ได้รับมอบอำนาจเพื่อสมัครขอใช้ CorpPass (รหัสส่วนตัวสำหรับทำธุรกรรมออนไลน์) และดำเนินการแทนบริษัทโดยสมัครผ่าน http://www.corppass.gov.sg ซึ่ง CorpPass ใช้สำหรับการติดต่อทำธุรกรรมและดำเนินการต่างๆออนไลน์กับหน่วยงานต่างในสิงคโปร์ รวมถึงเรื่องการเสียภาษีด้วย

2) ต้องขออนุญาตแบบอัตโนมัติ (Automatic Licensing) จาก International Enterprise (IE) Singapore ผ่านระบบ Tradenet  ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า การส่งออกหรือการส่งออกต่อ (Re-export)

3) ตามระเบียบกรมศุลกากรสิงคโปร์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ผู้นำเข้าที่จะนำเข้าสินค้าควบคุมจำนวน 60 รายการ จะต้องดำเนินการขออนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจอนุญาต นอกเหนือจาก IE อาทิ

•  สินค้าเครื่องสำอาง ต้องขออนุญาตจาก Cosmetic Control Unit (CCU) Health Science Authority

•  สินค้าผลไม้สด/แช่เย็น ต้องขออนุญาตจาก Agri-Food & Veterinary Authority (AVA)

•  สินค้าเภสัชภัณฑ์ ต้องขออนุญาตจาก Product Evaluation & Regulation Division (PER) Health Sciences Authority

ทั้งนี้ รายการสินค้านำเข้าควบคุม จำนวน 60 รายการ พร้อมหน่วยงานควบคุม สามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซด์กรมศุลกากรสิงคโปร์ http://www.customs.gov.sg › Home › Traders & Businesses › TradeNet®

4) สำหรับการนำเข้าสินค้าอาหาร ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาตเพื่อการนำเข้าจากหน่วยงาน Singapore Food Agency (SFA : Home | Singapore Government Singapore Food Agency (sfa.gov.sg)) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม/ตรวจสอบและอนุญาตการนำเข้าสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในสิงคโปร์ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเพื่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคเป็นหลักสำคัญ

5) ในส่วนการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electric Products) หน่วยงานที่ดูแลคือ Enterprise Singapore (www.enterprisesg.gov.sg) ภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Trade & Industry) ทำหน้าที่ควบคุม/ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งมีการออกใบรับรองสินค้าภายใต้ Safety Mark สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวน 33 ประเภท อาทิ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และก๊าซ ซึ่งผู้นำเข้าต้องขอใบรับรองสินค้าฯก่อน และเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงนำเข้าสินค้าเพื่อการจำหน่ายได้ http://www.enterprisesg.gov.sg/quality-standards/consumer-protection#for-consumers

6) นอกจากนี้ สินค้าของเล่นเด็ก สินค้าอื่นๆสำหรับเด็ก อาทิ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์การกีฬา เครื่องมือ DIY และอุปกรณ์สำหรับใช้ในครัวเรือนอื่นๆจำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบของ Enterprise Singapore ก่อนนำไปจำหน่าย