โครงสร้างพื้นฐาน

สิงคโปร์ส่งเสริมอุตสาหกรรมสำคัญๆหลากหลาย อาทิ Aerospace Engineering, Chemical, Clean Energy, Electronics, Environment and Water, Healthcare, InfoComm Services and Products Logistics, Supply Chain  Management, Marine  &  Offshore  Engineering,   Media  & Entertainment,  Pharmaceuticals  & Biotechnology  เพื่อที่จะให้ประเทศมีศักยภาพเท่าเทียมระดับนานาชาติ  โดยได้มีการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  เพื่อให้ทั้งชาวสิงคโปร์และชาวต่างชาติลงทุนทำธุรกิจในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศมีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุน ดังนี้

นิคมอุตสาหกรรมในสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศูนย์อุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลกมารวมอยู่ในประเทศมากรายหนึ่งของโลก ศูนย์อุตสาหกรรมเหล่านี้ มีโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการอยู่ในเขตเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ศูนย์อุตสาหกรรมยังช่วยให้บริษัทต่างๆในสิงคโปร์สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยอาศัยหลักการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีควาสะดวกสบายในด้านการขนส่งอีกด้วย

หน่วยงาน Economic Development Board (EDB : http://www.edb.gov.sg) เป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนในสิงคโปร์ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504  ได้สร้างนิคมอุตสาหกรรมจูร่ง (Jurong Industrial Estate) ขึ้นเป็นแห่งแรก ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ เพื่อการเริ่มต้นการดำเนินการด้านอุตสาหกรรมของประเทศในด้านสิ่งทอ เสื้อผ้า ของเล่น สินค้าจำพวกไม้  ทั้งนี้ EDB ได้เปิดศูนย์อุตสาหกรรมในต่างประเทศ คือ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชีย  เพื่อสร้างความสนใจแก่นักลงทุนในต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์

สิงคโปร์มีหน่วยงาน  Jurong Town Corporation (JTC : http://www.jtc.gov.sg) เป็นหน่วยงานที่สำคัญ ภายใต้การดูแลของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์  JTC จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2511 ทำหน้าที่เป็นนักพัฒนาที่ดินของสิงคโปร์ด้านนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งได้สร้างและพัฒนาโครงการต่างๆมากมาย อาทิ Jurong Industrial Estate (แห่งแรกของการพัฒนา) Chemical  Hub  in  Jurong  Island, Business and Industrial Parks เช่น Airport Logistics Park of Singapore, International and Changi Business Parks, Seletar Aerospace Park, CleanTech Park, Tuas Biomedical Park and One-North (Biopolis, Fusionopolis and Mediapolis)  ปัจจุบันนี้ JTC ยังคงมีการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นโครงการเพื่ออุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยในการส่งเสริมความต้องการของอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในอนาคต เขตอุตสาหกรรมดังกล่าว คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม Jurong Innovation District, Jurong Rock Cavern, Tukang Innovation Park

นอกจากนี้ JTC ยังสร้างและบริหารจัดการสวนสาธารณะ 3 แห่ง ได้แก่ Jurong Hill Park, Chinese Garden และ Japanese Garden อีกด้วย

นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญในสิงคโปร์

ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เกาะจูร่ง (Jurong Island)ได้เริ่มในปี พ.ศ. 2538 นับเป็นศูนย์กลางการผลิตเคมีภัณฑ์ของสิงคโปร์ โดยมีบริษัทต่างๆ รวมจำนวน 94 บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ในศูนย์ฯ อาทิ Chevron Philips, Exxon Mobil, Eastman Chemical, Shell  เป็นต้น 

เกาะจูร่งมีระบบสาธารณูปโภคแบบรูณาการสมบูรณ์แบบ ประกอบด้วยแหล่งพลังงานและน้ำ คลังสินค้า ศูนย์บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษา และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้ ยังมีระบบโลจิสติกส์ที่อำนวยความสะดวกบนเกาะนี้ โดยแบ่งเป็นเขต เช่น  Banyan Logis Park และ Meranti Logis Park เพื่อสนับสนุนบริษัทที่ตั้งอยู่ที่เกาะจูร่งนี้

อุตสาหกรรมผลิตแผ่นเวเฟอร์

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในสิงคโปร์ได้เริ่มในปี พ.ศ. 2503 โดยมีการทดสอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และมีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา ปัจจุบันนี้ สิงคโปร์จึงเป็นผู้ผลิตแผ่นเวเฟอร์ชั้นนำ โดยมีบริษัทผลิตแผ่นเวเฟอร์อยู่  3  แห่ง  ได้แก่  บริษัท Siltronic Samsung Wafer, United Microelectronics Corporation (Singapore branch) และ IM Flash Singapore

ชีวการแพทย์

ศูนย์สำหรับชีวการแพทย์ในสิงคโปร์ ได้แก่

ศูนย์ Tuas Biomedical Park (TBP) เป็นศูนย์ชีวการแพทย์ที่มีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับบริษัททางภาคชีวภาพทางการแพทย์  ทั้งนี้ บริษัทที่ได้เปิดดำเนินการในศูนย์ฯ ได้แก่ Novartis,  Pfizer และ  Wyeth  

ศูนย์ One-North โดยมุ่งเน้นวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และชีวภาพข้อมูลด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในด้านการสื่อสารมวลชนด้วย

เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสะอาดถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางพลังงานสะอาดของโลก โดยสิงคโปร์มุ่งเน้นการพัฒนา การแก้ไขปัญหา และการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการผลักดันการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่สำคัญ ซึ่งนอกจากพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว สิงคโปร์ยังได้มีการผลักดันในเรื่องของพลังงานลม พลังงานไฟฟ้า โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grids) ชีวมวลเซลล์ เซลล์เชื้อเพลิง และประสิทธิภาพพลังงาน (Energy efficiency) ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้นับเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันการเจริญเติบโตของประเทศ

ทั้งนี้ Clean Tech Park เป็นสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแห่งแรกของสิงคโปร์ ซึ่งศูนย์แห่งนี้สร้างด้วยมูลค่า 52 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2573  โดยคาดว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสะอาดมีส่วนช่วยการเติบโต GDP ของสิงคโปร์เป็นมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับ R & D  ตั้งอยู่ข้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ขนาด 50 เฮกตาร์ โดยเน้นการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ และเป็นสถานที่ทางเลือกสำหรับบริษัทที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

เขตปลอดภาษี  (Free Trade Zones – FTZs)

เขตปลอดภาษีเป็นเขตกำหนดพิเศษของสิงคโปร์ที่มีการยกเว้นการจ่ายภาษีสินค้าชั่วคราวเมื่อสินค้านำเข้ามาในประเทศ  โดยยังไม่ต้องชำระภาษี  หากสินค้านั้นยังอยู่ภายในสถานที่เก็บสินค้าบริเวณ  FTZs   ทั้งนี้ ผู้นำเข้าต้องชำระภาษีเมื่อสินค้านั้นๆถูกเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณ FTZs  ไปยังเขตศุลกากรเพื่อนำไปจำหน่ายภายในประเทศตามระเบียบภายใต้กฎหมาย Free Trade Zone Act

สิงคโปร์มีเขตปลอดภาษีอยู่ทั้งหมด 9 แห่งครอบคลุมพื้นที่ 5 เขต โดยมีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลภายในเขตปลอดภาษีมี 3 หน่วยงาน ดังนี้

1) PSA Corporation Pte Ltd ควบคุมดูแล 5 เขต คือ

  • Brani Terminal;
    • Keppel District Park;
    • Tanjong Pagar Terminal and Keppel Terminal;
    • Sembawang Wharves;
    • Pasir Panjang Wharves,

2) Jurong Port Pte Ltd ควบคุมดูแล 1 เขต คือ

  • Jurong Port;

3) Changi Airport Group (Singapore) Pte Ltd. ควบคุมดูแล 3 เขต คือ

  • Changi Airport Group;
  • Changi Airport Cargo Terminal Complex;
  • Singapore FreePort located in the Airport Logistics Park

โดยแต่ละแห่งมีการจัดการในการอำนวยความสะดวกและให้บริการด้านคลังสินค้า การนำเข้า การส่งออกและการส่งออกต่อ (Re-Export) สำหรับสินค้าที่ต้องมีการชำระภาษีและสินค้าควบคุม สินค้าเหล่านี้จะสามารถเก็บไว้ในคลังสินค้าได้โดยปราศจากการเรียกเก็บภาษีศุลกากร จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนนำออกจากเขตปลอดภาษีการค้านี้ได้

การโทรคมนาคม

สิงคโปร์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการโทรคมนาคมที่ดีที่สุดในระดับแนวหน้าของโลก มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้ประเทศเป็นศูนย์กลางในด้าน e-commerce โดยพยายามที่จะให้ระบบการติดต่อสื่อสารเข้าถึงทุกที่ในประเทศ

ในเดือนตุลาคม 2556 หน่วยงาน Infocomm Development Authority of Singapore (IDA) และหน่วยงาน Media Development Authority of Singapore (MDA) ได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เพื่อจัดตั้งเป็นหน่วยงาน Government Technology Agency (GovTech)  และ Info-communications Media Development Authority of Singapore (IMDA) ตามลำดับ โดย GovTech ทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐเพื่อพัฒนาและนำเสนอบริการดิจิตอลที่ปลอดภัยและการใช้เทคโนโลยีสำหรับบุคคลและธุรกิจในสิงคโปร์ เพื่อสนับสนุนประเทศสิงคโปร์ในฐานะ Smart Nation เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น Internet of Things  ในขณะที่ IMDA จะพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เชื่อมโยงผู้คน  ชุมชน และความเป็นสมาร์ทเนชั่นของสิงคโปร์ โดย IMDA จะพัฒนาความสามารถทางธุรกิจและเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ICT และสื่อของสิงคโปร์ ควบคุมภาคโทรคมนาคม และสื่อเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี เพิ่มระบบการปกป้องข้อมูลของสิงคโปร์ ผ่านทางคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้านการสื่อสารในสิงคโปร์มี 3 บริษัท คือ Singtel,  Starhub และ M1 ตามลำดับ  การให้บริการทั้งในระบบเสียง ข้อมูล และวิดีโอ มีเครือข่ายในระบบดิจิตอลที่ทันสมัยและเต็มรูปแบบ โดยการขยายความกว้างของแถบคลื่นความถี่ที่ใช้ในการสื่อสาร (bandwidth) ในระบบใช้สายและไร้สายเพื่อเพิ่มความเร็วในระบบเสียงและข้อมูลทางอินเตอร์เนต มีโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fibre optics) ที่เป็น nation-wide ultra-high speed และมีระบบ SmartPipe ซึ่งเป็นการรวมกันของ high-speed broadband internet, crystal-clear voice และเนื้อหาของโทรทัศน์เข้าไว้ด้วยกันทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การเชื่อมโลกธุรกิจสะดวกและง่ายขึ้น

แหล่งที่มา: https://www.tech.gov.sg/About-Us/Facts-and-figures/Singapore-ranking-in-infocomm

การคมนาคมขนส่งในสิงคโปร์

ภาครัฐสิงคโปร์สร้างโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งในสิงคโปร์ให้มีความสะดวกสบาย ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยสรุปสาระ ดังนี้

การขนส่งทางบก

ทางถนน ซึ่งเส้นทางคมนาคมหลักของสิงคโปร์ ถนนส่วนใหญ่มี 4 ช่องทางจราจร และการขับขี่จะใช้ระบบชิดซ้ายเช่นเดียวกับไทย มีการเชื่อมต่อเขตโดยการใช้ทางด่วนหรือ Expressway เพื่อประหยัดเวลาและย่นระยะทางในการเดินทาง ซึ่งในขณะนี้มีทางด่วนที่เปิดใช้แล้วถึง 10 เส้นทางด้วยกัน มีความยาวรวมถึง 163 กิโลเมตร ได้แก่ Ayer Rajah Expressway (AYE), Bukit Timah Expressway (BKE), Central Expressway (CTE), East Coast Parkway (ECP), Marina Coastal Expressway (MCE), Kallang-Paya Lebar Expressway (KPE), Kranji Expressway (KJE), Pan Island Expressway (PIE), Seletar Expressway (SLE) และ Tampiness Expressway (TPE) ทั้งนี้ North-South Expressway อยู่ในระหว่างการวางแผน และมี Semi-Expressway 5 ราย คือ Bukit Timah Rd, Jurong Island Highway, Nicoll Highway, Outer Ring Road System และ West Coast Highway

อนึ่ง ทางด่วนของสิงคโปร์เชื่อมต่อกับ Malaysia Expressway ผ่านทาง Ayer Rajah Expressway ไปยัง Second Link Expressway ในมาเลเซีย และ Bukit Timah Expressway ไปยัง Skudai Expressway ผ่าน Johor-Singapore Causeway (Johor-woodlands/Tanjung Kupang in Johor-Tuas)

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกของโลกที่นำระบบ ERP (Electronic Road Pricing) มาใช้ ซึ่งเป็นระบบการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติผ่านเครื่อง Electronic ที่ใช้ในการจัดการปัญหาจราจร ซึ่งส่วนใหญ่ของจุดที่มีการติดตั้ง ERP นั้นจะเป็นในเขตชุมชน หรือเขตในเมืองที่ต้องการควบคุมการจราจรเพื่อจำกัดรถในช่วงเวลาเร่งด่วน ซึ่งการชำระค่าผ่านทางนั้น ผู้ขับขี่ยานยนต์ไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ จึงไม่เกิดความล่าช้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ ระบบมีการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติและมีระบบการตรวจจับเมื่อยานยนต์ที่ผ่านเขต ERP กรณีมูลค่าในบัตรไม่เพียงพอ จะมีการเรียกเก็บค่าปรับจากผู้ขับขี่ในภายหลัง อีกทั้งบัตร ERP ยังสามารถใช้กับที่จอดรถทั่วประเทศสิงคโปร์อีกด้วย

การขนส่งสาธารณะในสิงคโปร์ประกอบไปด้วยรถไฟฟ้า (Mass Rapid Transit : MRT) และ Light Rail Transit (LTR) รถโดยสารประจำทางและรถแท๊กซี่สรุปสาระ ดังนี้

  • รถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งหลักของสิงคโปร์ ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 6 เส้นทางด้วยกันคือ (1) North-South line (2) East-West line (รวมไปถึงสายที่เดินทางไปถึงสนามบิน Changi Terminal 2 ของสิงคโปร์) (3) Circle line (4) North-East line และ (5) Downtown line (6) Thomson East Coast line ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
เส้นทางรถไฟฟ้าในสิงคโปร์
แหล่งที่มา : http://www.lta.gov.sg

                                          

  • ทั้งนี้ มีรถไฟฟ้าสายระยะสั้นที่วิ่งในเขตชุมชนหรือที่เรียกว่า LTR (Light Rail Transit) กระจายไปยังอีก 3 ชุมชน เพื่อให้การคมนาคมเข้าถึงชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไปได้มากขึ้น ทำให้การเดินทางในสิงคโปร์นั้นมีความสะดวกรวดเร็วเป็นอย่างมาก
  • รถประจำทาง มีบริการรถประจำทางมากกว่า 4,000 คัน ครอบคลุมกว่า 400 สาย โดยบริษัท SBS Transit และ SMRT Buses Ltd. ซึ่งจัดการเดินรถไปยังถนนต่างๆทั่วสิงคโปร์ อีกทั้งจัดให้มีระ Shuttle Bus เพื่อเดินรถจากเขตต่างๆรอบๆสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารไปใช้บริการรถไฟฟ้า รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.sbstransit.com.sg
แหล่งที่มา: https://www.sbstransit.com.sg
  • รถแท๊กซี่ ผู้ให้บริการแท็กซี่ในสิงคโปร์ ได้แก่ TransCab, Premier Taxis, Comfort Taxi, Prime Taxi, SMRT Taxis และ CityCab นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกใช้บริการจากรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล เช่น Grab Gojek และ Ryde เป็นต้น

  • Sentosa Express Monorial (ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร) สร้างโดย Hitachi Asia Ltd. เปิดใช้เมื่อ 15 มกราคม 2550 เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเกาะสิงคโปร์กับเกาะเซนโตซ่า

การขนส่งทางน้ำ

สิงคโปร์มีระบบการขนส่งทางน้ำ โดยใช้ Water Taxi เป็นตัวเลือกในการเดินทางในเมือง และให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โดยมีจุดรับ-ส่ง 24 แห่ง ล่องไปตามแม่น้ำสิงคโปร์ไปยัง Marina Bay จนถึง Marina Barrage ซึ่งค่าโดยสารอยู่ที่ 3-4 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเที่ยว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Singapore River Cruise (www.rivercruise.com.sg ) และ Singapore River Explorer (www.riverexplorer.sg)

แหล่งที่มา : travelSingaporeyourself.com

การเดินทางโดย Ferry

  • เดินทางภายในประเทศ จากท่าเรือ Marina South Pier ไปยังเกาะทางใต้ของสิงคโปร์ เช่น เกาะ Kusu เกาะ Saint John’s
  • เดินทางไปประเทศอินโดนีเซียและต่างประเทศอื่นๆ จาก Tanah Merah Ferry Terminal, Changi  Point Ferry Terminal, Singapore Cruise Centre

ท่าเรือสิงคโปร์ (Port of Singapore)

ดำเนินการโดย PSA International (www.singaporepsa.com) และ Jurong Port ดำเนินการโดย JTC (www.jtc.gov.sg) ให้บริการเดินทางและขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก

ทั้งนี้ ท่าเรือในสิงคโปร์  ได้แก่ Brani (BT),  Cosco-PSA (CPT), Jurong, Keppel (KT), Pasir Panjang (PPT), Pasir Panjang Wharves, Sembawang, Tanjong Pager (TPT)

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะรวมท่าเรือในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ท่า Pasir Panjang ท่า Tanjong Pagar ท่า Keppel และท่า Brani Terminal ไปที่ท่าเรือใหญ่ Tuas บนพื้นที่ 1,339 เฮกตาร์ 13.39 ล้านตารางเมตร ตามกำหนดการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2564 (2021) และกำหนดจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2583 (2040)

โดยคาดการณ์ว่ามีมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลสิงคโปร์เพิ่ม 4.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 5,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2568 (2525)

จุดประสงค์ของแผนพัฒนานี้เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของการท่าเรือ ให้เป็นไปตามแนวทาง Smart Nation ของประเทศ โดยเน้นการใช้นวัตกรมและเทคโนโลยีขั้นสูงในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ได้รับการพัฒนาโดยการท่าเรือแห่งประเทศสิงคโปร์ (The Maritime and Port Authority of Singapore – MPA)

โดยมีการร่วมมือกับอุตสาหกรรม สหภาพแรงงาน และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ภายใต้โปรแกรม The MPA-PSA Port Technology Research and Development Programme (PTRDP) โดยเน้นการพัฒนาในส่วนของดิจิตอล ระบบการเชื่อมต่อระบบอัตโนมัติต่างๆ ซึ่งรวมถึงระบบการขนส่ง โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการวิเคราะห์ข้อมูล และ Artificial Intelligence (AI)

แหล่งที่มา: http://mediasixstudio.com/PSA

การขนส่งทางอากาศ

สิงคโปร์นับเป็นศูนย์การบินชั้นนำแห่งหนึ่งในเอเชีย ด้วยมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการที่มีมาตรฐานระดับสูง โดยมีท่าอากาศยาน Changi Airport แบ่งออกเป็น Terminal 1, 2, 3 และ 4 ให้บริการกว่า 100 สายการบินไปยัง 400 เมืองใน 90 ประเทศทั่วโลก โดยมีเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกรวมประมาณ 7,200 เที่ยวต่อสัปดาห์ หรือกล่าวได้ว่ามีเที่ยวบินขาเข้า/ออกทุกๆ 80 วินาทีรองรับผู้โดยสารกว่า 62 ล้านคนต่อปี  (ที่มา: Civil Aviation Authority of Singapore ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคมนาคมสิงคโปร์)

สิงคโปร์มีสายการบินท้องถิ่น ได้แก่ Singapore Airlines, SilkAir, Scoot Tigerair และ Jetstar Asia ที่ให้บริการจากสนามบิน Changi มีตารางการบินไปยังเมืองจุดหมายต่างๆทั่วโลกกว่า 70 เมืองใน 6 ทวีป  ทั้งนี้มีสายการบินที่ให้บริการเดินทางระหว่างไทยและสิงคโปร์ 11 สายการบิน มากกว่า 300 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของสิงคโปร์ ต้องระดมทุนได้ระดมเงินทุนรวมมูลค่า 15.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะกลับมาเป็นศูนย์กลางการเดินทางทางอากาศของภูมิภาคหลังช่วงโควิด-19

นอกจากสนามบิน Changi แล้ว สิงคโปร์มีสนามบิน Seletar Airport ที่ให้บริการเครื่องบินพาณิชย์แบบเช่าเหมาลำ และเครื่องบินส่วนตัว รวมถึงการให้บริการของสายการบิน Berjaya Air บินไปยังเกาะ Pulau Tioman และ Pulau Redang ในมาเลเซียอีกด้วย