สถาบันการเงิน

สิงคโปร์มีสถาบันทางการเงินและธนาคารมากกว่า 600 แห่ง และมีระบบที่ให้บริการทางการเงินเต็มรูปแบบให้กับนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น บริการทางการเงิน รวมถึงการจัดการเงินสด สินเชื่อ การค้าระหว่างประเทศ การเงิน ประกันการลงทุนการธนาคาร และบริการทางด้านตราสารหนี้ เป็นต้น ทำให้นักลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศจะสามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินที่หลากหลาย โดยไม่มีข้อจำกัด สิงคโปร์ยังมีระบบคุ้มครองเงินฝาก (Deposit Insurance : DI) ซึ่งจะครอบคลุมทั้งธนาคาร (Banks) สถาบันการเงิน (Financial Companies) และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ในสิงคโปร์โดย DI จะคลอบคลุมเฉพาะเงินฝากสกุล SGD ทั้งบัญชีออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และกระแสเงินสดโดยจะมีวงเงินรับประกันไม่เกิน 50,000 SGD ต่อราย

นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบบริการ ปัจจุบันนี้ทุกธนาคารมีการให้บริการทางอินเตอร์เน็ต โดยมีธนาคารพาณิชย์ในสิงคโปร์ที่สำคัญคือ

1) The Overseas Union Bank (OUB) ซึ่งอยู่ภายใต้ United Overseas Bank (UOB) ได้แยกธุรกิจด้านอินเตอร์เน็ตเป็นหน่วยงานอิสระและลงทุน 300 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (175 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อพัฒนาระบบให้บริการใหม่ๆ เช่น การโอนเงินผ่านธนาคารทางอินเตอร์เน็ต และการซื้อขายหุ้นออนไลน์      

2) Development Bank of Singapore (DBS) ลงทุนเช่นกันในการพัฒนาศักยภาพของธนาคาร โดยเตรียมรับมือกับคู่แข่งอย่าง Citibank และ Standard Chartered Bank  

โครงสร้างระบบการเงินและสถาบันการเงิน

สถาบันทางการเงินในสิงคโปร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สถาบันการเงินที่ใช้ระบบธนาคาร

ภาคธนาคารพาณิชย์มีความสำคัญอย่างมากต่อสิงคโปร์ ด้วยสินทรัพย์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.9 ของระบบการเงินของสิงคโปร์ โดยธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์แบ่งประเภทตามขอบเขตธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ Full Bank, Wholesale Bank, และ Offshore Bank

ธนาคารพาณิชย์ในสิงคโปร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่น (Local Banks) และ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Foreign Banks)

  • ธนาคารท้องถิ่น (Local Banks) จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย
  • Bank of Singapore Limited
  • DBS Bank Ltd
  • Oversea-Chinese Banking Corporation Limited
  • United Overseas Bank Limited
  • POSB Bank

ทั้งนี้ ธนาคารของสิงคโปร์ได้ขยายสาขามาดำเนินธุรกรรมการเงินในไทยจำนวน 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคาร United Overseas Bank (UOB), ธนาคาร Oversea Chinese Banking Corp. Ltd. และ ธนาคาร DBS Bank Ltd. โดยใช้ชื่อว่า United Overseas Bank (Thai) Public Company Limited, Oversea Chinese Banking Corp Ltd Thailand และ DBS Thai Danu PCL ตามลำดับ

  • ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Foreign Banks) โดยสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
  • กิจการธนาคารเต็มรูปแบบ (Full Banks)
  • กิจการธนาคารที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่(Wholesale Banks)
  • กิจการธนาคารดำเนินธุรกิจในลักษณะ Offshore Banks ซึ่งมีขอบเขตการประกอบกิจการเพียงการให้บริการกู้ยืมระหว่างประเทศ

สำหรับธนาคารของไทยที่เปิดบริการในสิงคโปร์มี 3 ราย คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ดี มีเพียง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารพาณิชย์เดียวของไทยที่มีใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการธนาคารอย่างเต็มรูปแบบ (Full Banks) ส่วนธนาคารไทยอีก 2 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ มีขอบเขตการประกอบกิจการเพียงการให้บริการกู้ยืมระหว่างประเทศในลักษณะ Offshore Banking

ขอบเขตการให้บริการของธนาคารแต่ละประเภท มีดังนี้

  1. ธนาคารเต็มรูปแบบ (Full Banks) ซึ่งดำเนินธุรกิจธนาคารได้ครอบคลุมตามขอบเขตที่กำหนดใน Banking Act โดยสามารถประกอบธุรกิจได้ทั้งด้าน Corporate และ Retail Banking ได้แก่
  2. รับเงินฝาก : เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก หรือเงินฝากประเภทอื่น ๆ
  3. ให้สินเชื่อ: สินเชื่อระยะยาว สินเชื่อหมุนเวียน สินเชื่อเพื่อการนำเข้าและส่งออก สินเชื่อเงินเบิกเกินบัญชี
  4. การให้บริการด้าน Treasury : ปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ตราสารอนุพันธ์
  5. บริการด้านชำระเงิน : เคลียร์เช็ค และ การส่งเงิน (Remittance)
  6. บริการรับฝากหลักทรัพย์ (Custody)
  7. บริการด้านสินค้า (Wealth Management)
  8. บริการด้านการเช่าซื้อและรับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า (Leasing และ Factoring)

นอกจากนี้ Full Banks ยังสามารถประกอบธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ตามที่ระบุไว้ใน Banking Regulation 12 อย่างไรก็ตาม สำหรับการให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิต  ยังคงต้องขออนุญาตจาก MAS เป็นรายกรณี                                             

  • กิจการธนาคารที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ (Wholesale Banks) ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้บริการครอบคลุมทุกธุรกิจซึ่งอนุญาตให้ดำเนินการภายใต้กฎหมายธนาคารเช่นเดียวกับ Full Bank แต่ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมของลูกค้ารายย่อย (Retail banking) โดยมีข้อจำกัด ดังนี้
ประเภทบริการข้อจำกัด
Saving accountไม่อนุญาตให้บริการ Saving Account ในสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจาก MAS เป็นรายกรณี
Fixed accountไม่อนุญาตให้บริการ Fixed Deposits ในสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่ต่ำกว่า 250,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
  • กิจการธนาคารดำเนินธุรกิจในลักษณะ Offshore Banks ซึ่งมีขอบเขตการประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับ Full bank และ Wholesale Bank อย่างไรก็ตาม การทำธุรกรรมในสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์จะมีข้อจำกัดมากกว่า ขณะที่การทำธุรกรรมในสกุลเงินต่างประเทศดำเนินการผ่าน Asian Currency Unit (ACU) โดยธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตในรูปแบบ Offshore banks จะต้องปฏิบัติตามข้อจำกัด ดังนี้
ประเภทของลูกค้ำข้อจำกัด
การให้บริการแก่ลูกค้ามี   ถิ่นที่อยู่ในสิงคโปร์ไม่อนุญาตให้บริการ Saving account และ Fixed deposit สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ไม่อนุญาตให้บริการสินเชื่อรวมเกินกว่า 500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก MAS เป็นรายกรณี
การให้บริการแก่ลูกค้าไม่มีถิ่นที่อยู่ในสิงคโปร์ไม่อนุญาตให้บริการ Saving account สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ไม่อนุญาตให้บริการ Fixed deposits สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่ต่ำกว่า 250,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

นอกจากนี้ กิจการธนาคารที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ (Wholesale Banks) และกิจการธนาคารดำเนินธุรกิจในลักษณะ Offshore Banks ยังมีข้อจำกัดในเรื่องตราสารหนี้ (Bond) และบัตรเงินฝาก (Negotiable Certificate of Deposit: NCD) ที่ต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้

1) เป็นตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศ หรือ

2) กรณีตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่ออกให้แก่นักลงทุนซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีและมีความเข้าใจในการลงทุน (Sophisticated Investor) โดยตราสารดังกล่าวจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน นับจากวันที่ออกตราสาร          

2. ธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ

สิงคโปร์อยู่ระหว่างการเตรียมพร้อมสู่การเปิดดำเนินการธนาคารดิจิทัล (ธนาคารที่ทำธุรกรรมออนไลน์ ไม่มีสาขาหรือสำนักงานเหมือนธนาคารพาณิชย์) ในช่วงต้นปี 2565 ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ แต่มีความพร้อมและมีรูปแบบธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลตามที่ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์กำหนด สามารถยื่นเรื่องขอจัดตั้งธนาคารดิจิทัล (ไม่มีสำนักงานหรือสาขาแบบธนาคารพาณิชย์ทั่วไป) โดยจะแบ่งการให้บริการเป็น 2 ประเภทคือ

1) ธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Digital Full Bank – DFB) ให้บริการทางการเงินที่หลากหลายและบริการเงินฝากสำหรับลูกค้ารายย่อย โดยต้องมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 15 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์และเพิ่มทุนต่อเนื่องเป็น 1,500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และจะต้องสามารถให้บริการการเปิดบัญชีที่มีบัตรเดบิท และบัตร ATM รวมถึงการทำธุรกรรมออนไลน์และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์

2) ธนาคารค้าส่งดิจิทัล (Digital Wholesale Bank – DWB) เน้นให้บริการ SMEs และกลุ่มผู้ค้าส่ง โดยต้องมีเงินทุน (paid-up capital) 100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

3. สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

สิงคโปร์มีสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank Financial Institutions) อาทิ สถาบันทางการเงินที่ให้เงินทุนแก่บริษัทในรูปแบบของการเข้าไปถือหุ้นแทนการให้เงินกู้ (Merchant Bank), สถาบันที่เป็นสื่อกลางในตลาดทุน (Capital Markets Intermediaries), บริษัทประกันภัย (Insurance),   ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Adviser), บริษัทเงินทุน (Finance Company), ทรัส (Trust Company) บริษัทที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนเงินตราและการโอนเงิน (Money Changing and Remittance Businesses) ซึ่งสถาบันดังกล่าวเหล่านี้ ช่วยส่งเสริมและให้บริการทางการเงินอีกทางหนึ่ง (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.mas.gov.sg)

ระบบธนาคารของสิงคโปร์
(จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย)