การนำเข้าสินค้ามายังประเทศสิงคโปร์
การนำเข้าและส่งออกสินค้าของประเทศสิงคโปร์ควบคุมภายใต้กฎหมาย
- The Customs Act (Customs Act)
- Regulation of Import and Export Act (Regulation of Imports and Exports Act (customs.gov.sg)
- Good and Services Tax Act ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการกำหนดการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) Goods and Services Tax (customs.gov.sg)
- Free Trade Zone Act ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภาษีในสิงคโปร์ Free Trade Zones Act (customs.gov.sg)
หน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลการนำเข้าและการส่งออกสินค้า
1. Department of Customs ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการนำเข้า/การส่งออกสินค้าทุกประเภท (Singapore Customs)
2. Enterprise Singapore ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตการนำเข้า/ส่งออกสินค้า รวมถึงใบอนุญาตนำเข้าสินค้าบางประเภท เช่น ข้าว Enterprise Singapore – Growing Enterprises (enterprisesg.gov.sg)
3. Singapore Food Agency (SFA) ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตการนำเข้า/ส่งออกสินค้าอาหาร Home | Singapore Government Singapore Food Agency (sfa.gov.sg)



การนำเข้าสินค้ามายังประเทศสิงคโปร์
ศุลกากรสิงคโปร์ มีการควบคุมสินค้านำเข้าโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1. สินค้าห้ามนำเข้า คือ สินค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาในสิงคโปร์ ได้แก่
สินค้า | หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล |
หมากฝรั่ง (ยกเว้นที่ใช้เพื่อทันตกรรมซึ่งผ่านการขออนุญาตจากHealth Sciences Authority แล้ว และหมากฝรั่งที่เป็นยา) | ศุลากร |
ไฟแช็กบุหรี่ – ปืนพก / ปืนพกรูป | กองบังคับการตำรวจ |
ประทัด / ดอกไม้ไฟ | กองบังคับการตำรวจ |
นอแรด หรือผงของนอแรดสัตว์ป่า และผลพลอยได้จากสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ | Agri-Food and Veterinary Authority |
อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น เครื่องรับสัญญาณสแกนอุปกรณ์การสื่อสารทางทหารโทรศัพท์เปลี่ยนอุปกรณ์เสียงอุปกรณ์สื่อสารวิทยุที่ดำเนินงานในคลื่นความถี่ 880-915 MHz, 925-960 MHz, 1900-1980 MHz และ 2110-2170 MHz ยกเว้นโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อื่นที่ได้รับการอนุมัติสื่อลามกอนาจารสิ่งตีพิมพ์และเทปวิดีโอหรือแผ่นดิสก์ซอฟต์แวร์ เทปวิดีโอ คอมแพคดิสก์ซีดี แผ่นบันทึกข้อมูล หรือเทปคาสเซ็ท ที่เผยแพร่สำเนาสิ่งพิมพ์ลิขสิทธิ์ | Info-communications Media Development Authority (IMDA) |
ยาสูบแบบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์เลียนแบบยาสูบ(บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องพ่นไอระเหย) shishaซิการ์ไร้ควัน หรือบุหรี่ไร้ควันยาสูบหรือนิโคตินที่ละลายได้ผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคตินหรือยาสูบซึ่งอาจใช้สำหรับการฉีดเข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสารละลายที่มียาสูบหรือนิโคตินเป็นส่วนประกอบซึ่งอาจใช้กับครื่องสูบนิโคตินอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องระเหยสารชนิดไอโอดีน | Tobacco Regulation Branch, Health Sciences Authority |
ยาควบคุมที่ระบุในตารางที่ 4 ของการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง | Licensing and Certification Branch, Health Sciences Authority |
2. สินค้าควบคุมการนำเข้า ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจก่อนที่จะนำเข้ามาในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่
สินค้า | หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล |
เครื่องเล่นหยอดเหรียญ หรือที่ทำงานด้วยแผ่นดิสก์ โต๊ะพิน เครื่องถ่ายรูปหรือถ่ายทำภาพยนตร์ | กองบังคับการตำรวจ (หน่วยงาน Public Entertainment & Liquor) |
อาวุธ และวัตถุระเบิดเสื้อผ้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการโจมตี รวมถึงเสื้อกันกระสุนกุญแจมือหมวกกันน็อคเหล็กNitro-celluloseปืนของเล่น / ปืนพก / ปืนพก | กองบังคับการตำรวจ (หน่วยงาน Arms & Explosives) |
ทราย และแกรนิต ( วัสดุก่อสร้าง ) | Building and Construction Authority |
เครื่องเล่นแจ็คพอต | กองบังคับการตำรวจ |
ตลับ / เทป / แผ่นซีดีเสียงที่บันทึกแล้วฟิลม์ ภาพยนตร์ วีดีโอ เลเซอร์ดิสท์แผ่นบันทึกเสียงสิ่งพิมพ์ของเล่นประเภท walkie-talkie | IMDA |
ข้าว | Enterprise Singapore |
สัตว์ นก ปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอาหาร (สด/แห้ง)นม ( รวมถึง นมสำหรับอาหารสัตว์ )เนื้อสัตว์ ยารักษาสัตว์รากโสมปุ๋ยอินทรีย์พืช ดอกไม้ และเมล็ดพืชไม้เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัว ประเภทพอร์ซเลน/จีน | Agri-Food and Veterinary Authority |
Poppy seedsสารตั้งต้นสารเคมี | Central Narcotics Bureau |
แร่ใยหินแบตเตอรี่, อัลคาไลน์, สังกะสีคาร์บอน และออกไซด์ของปรอท และของเสียจากแบตเตอรี่สารพิษที่เป็นอันตรายสารกำจัดศัตรูพืชวัตถุสำหรับดับเพลิงChlorofluorocarbons (CFCs)Surface-active agents, anionic | กรมควบคุมมลพิษสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (National Environment Agency -NEA) |
อุปกรณ์ฉายรังสีวัสดุกัมมันตรังสี | Radiation Protection and Nuclear Science Department, NEA |
สารเคมีที่เป็นพิษและสารตั้งต้น | National Authority, Chemical Weapons Convention (NA, CWC), Singapore Customs |
น้ำมันดีเซล / น้ำมันเชื้อเพลิงวัสดุไวไฟปิโตรเลียม | กองกำลังป้องกันประเทศสิงคโปร์ |
เพชรดิบ อุปกรณ์ต้นฉบับและอุปกรณ์ทำซ้ำ ( เช่น CD, VCD, DVD ) | ศุลกากร |
Human pathogens | กระทรวงสาธารณสุข สาขาความปลอดภัยทางชีวภาพ |
ผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ยาที่เป็นกรรมสิทธิ์ของจีนยาควบคุมและสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสิ่งที่ใช้ในช่องปากเหงือกสารปฎิบัติการในห้องปฏิบัติการมาตรฐาน และยาสัตวแพทย์ที่สารควบคุมประสาทและสารพิษ | Health Sciences Authority |
อนึ่ง สินค้าที่นำเข้าโดยขนส่งผ่านทางท่อซึ่งไม่ผ่านจุดตรวจสอบสินค้านำเข้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำประปา ไฟฟ้า ซึ่งผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำเข้าก่อนด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1. การคำนวณภาษีสินค้าและบริการ และภาษีสรรพสามิต
1.1 การคำนวณภาษีสินค้าและบริการ (GST) จะคำนวณจากมูลค่าของสินค้า ซึ่งหมายรวมถึงค่าต้นทุนสินค้า (Cost) ค่าประกันภัย (Insurance) และค่าระวางสินค้า (Freight) รวมถึงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ณ จุดของการนำเข้าสินค้า (ถ้ามี)
1.2 การคำนวณภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ในสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จะคำนวณจากมูลค่าของสินค้ากับอัตราภาษีสรรพสามิตของสินค้าแต่ละชนิด ณ จุดนำเข้าสินค้า ซึ่งข้อมูลรายการสินค้าและอัตราภาษีดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.customs.gov.sg/businesses/valuation-duties-taxes-and-fees/duties-and-dutiable-goods
สำหรับผู้นำเข้าในสิงคโปร์ ต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับหน่วยงานสิงคโปร์ชื่อ ACRA Accounting and Corporate Regulatory Authority (acra.gov.sg) เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงสามารถนำเข้าสินค้าได้ ทั้งนี้ ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาต (Permit) ในการนำเข้าสินค้าต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขึ้นอยู่กับสินค้าที่นำเข้า ทั้งที่เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ควบคุมก็ตาม
สินค้าที่นำเข้ามายังประเทศสิงคโปร์ทุกประเภทจะต้องชำระค่าภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax : GST) ในอัตราร้อยละ 7 ทั้งสินค้าที่ต้องเสียและไม่เสียภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) โดยสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตประกอบไปด้วยสินค้า 4 ประเภท คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
การนำเข้าสินค้าโดยผู้นำเข้ารับผิดชอบในการชำระภาษีสินค้าและบริการ ภาษีสรรพสามิต และค่าธรรมเนียมอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้กับศุลกากร ในการนี้ผู้นำเข้าต้องสมัครใช้ระบบ Inter-Bank GIRO (IBG) กับทางศุลกากร หรือแต่งตั้งตัวแทนเพื่อชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆที่เกิดขึ้น
2. การนำเข้าสินค้าควบคุม
การนำเข้าสินค้าควบคุมซึ่งผู้นำเข้าจะต้องยื่นขอใบอนุญาตการนำเข้าจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงสามารถนำเข้าได้ รายการสินค้าควบคุม ได้แก่
- ผัก/ผลไม้และเนื้อสัตว์/ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ซึ่งการนำเข้าสินค้าฯจะมีหน่วยงาน Agri-Food Veterinary Authority (AVA) และ Food Control Department (FCD) ของสิงคโปร์ทำการตรวจสอบสินค้าก่อนที่จะอนุญาตให้นำเข้า นอกจากนี้ บริษัทต้องแสดงเอกสารที่ได้รับอนุญาตส่งออกสินค้าจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมด้วย
- สินค้าข้าว ผู้นำเข้าสิงคโปร์ต้องขออนุญาตจาก Enterprise Singapore เพื่อการนำเข้าและการสำรองข้าวในคลังสินค้าที่กำหนด
- เพชรดิบ (Rough Diamond) ผู้นำเข้าสิงคโปร์ต้องขออนุญาตจาก Singapore Customs ก่อนที่จะนำเข้า
ทั้งนี้ รายละเอียดรายการสินค้าที่สิงคโปร์ควบคุมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูเพิ่มเติมได้ที่ Controlled & Prohibited Goods (customs.gov.sg) ซึ่งในรายการของสินค้าควบคุมจะปรากฏหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกใบอนุญาตด้วย
นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีข้อกำหนดในการห้ามนำสินค้าจากบางประเทศอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.customs.gov.sg/businesses/united-nations-security-council-sanctions/
3. การนำเข้าสินค้าภายใต้ License Warehouse Scheme (LWS) และ Zero GST Warehouse Scheme (ZGS)
3.1 การนำเข้าสินค้าภายใต้ License Warehouse Scheme (LWS) (https://www.customs.gov.sg/businesses/customs-schemes-licences-framework/licensed-warehouse-scheme) เป็นพื้นที่คลังสินค้าที่ผู้นำเข้าได้รับอนุญาตและมีใบประกอบธุรกิจจาก Singapore Customs เพื่อการเก็บรักษาสินค้าที่นำเข้าซึ่งต้องเสียภาษีสรรพสามิต เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ ยานยนต์ และน้ำมันปิโตรเลียม โดยยังไม่ต้องเสียภาษีทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีสินค้าและบริการ จนกว่าจะขออนุญาตนำสินค้าดังกล่าวออกจากคลังสินค้านั้นๆเพื่อจำหน่ายในประเทศ จึงต้องเสียภาษีสินค้าและบริการ รวมถึงสินค้าสรรพสามิต โดยใบอนุญาตแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ คลังสินค้าแบบ 1 (ประเภท Standard) แบบ 2 (ประเภท Intermediate) และแบบ 3 (ประเภท Enhanced & Premium)
ทั้งนี้ อัตราค่าเช่าคลังสินค้าขึ้นอยู่กับมูลค่าสินค้าที่ต้องเสียภาษี หรืออัตราเฉลี่ยมูลค่าภาษีของบริษัทผู้นำเข้าในเดือนที่ผ่านมา อัตราค่าเช่าสรุปดังนี้
มูลค่าสินค้าที่ต้องเสียภาษีหรืออัตราเฉลี่ยมูลค่าภาษี ของผู้นำเข้าในเดือนที่ผ่านมา | ค่าเช่า : ดอลลาร์สิงคโปร์/เดือน |
1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือน้อยกว่า | 2,500 |
มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ – 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ | 4,000 |
10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือมากกว่า | 21,000 |
3.2 การนำเข้าสินค้าภายใต้ Zero GST Warehouse Scheme (ZGS) (https://www.customs.gov.sg/businesses/customs-schemes-licences-framework/zero-gst-warehouse-scheme) หน่วยงานที่จัดการ คือ Singapore Customs (SC) เป็นพื้นที่คลังสินค้าสำหรับเก็บสินค้าทั่วไปที่นำเข้าโดยไม่เข้าข่ายเสียภาษีสรรพสามิต โดยขอยกเว้นภาษี GST ได้ ซึ่งคลังสินค้าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
คลังสินค้าแบบ 1 | : ร้อยละ 80 ของสินค้าที่นำเข้าใช้สำหรับการส่งออกต่อ |
คลังสินค้าแบบ 2 & 3 | : เก็บรักษาสินค้าทั่วไปที่นำเข้าและสามารถขนย้ายสินค้าได้ระหว่างคลังสินค้า ZGS ในเขตต่างๆ |
ทั้งนี้ ค่าเช่าคลังสินค้า Zero GST มีดังนี้
อัตราเฉลี่ยมูลค่าสินค้าที่เก็บ | ค่าเช่า: ดอลลาร์สิงคโปร์/เดือน |
1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือน้อยกว่า | 1,000 |
มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ – 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ | 2,500 |
5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือมากกว่า | 4,000 |
อนึ่ง คลังสินค้า ZGW ไม่สามารถใช้เพื่อเก็บรักษาสินค้าประเภทต่างๆ ดังนี้
- สินค้าที่ต้องเสียภาษี
- สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
- สินค้าที่จ่าย GST แล้ว
สินค้าทุกชนิด ยกเว้นเหล้าและบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ จะได้รับการอนุญาตจากศุลกากรสิงคโปร์ให้สามารถนำสินค้าเข้าเป็นการชั่วคราวได้ในระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตและภาษีสินค้าและบริการ (GST) โดยการนำเข้ามีวัตถุประสงค์เพื่อการเข้าร่วมนิทรรศการ การประมูล งานแสดงสินค้า การซ่อมแซม การสาธิต การทดสอบ และการแสดง ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลา 6 เดือนแล้ว ผู้นำเข้ายังไม่ได้ส่งออกสินค้าดังกล่าว ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายภาษีทุกประเภท
4. การนำเข้าสินค้าแบบชั่วคราว
สินค้าที่สามารถนำเข้าภายใต้ The Temporary Import Scheme (TIS) นั้นรวมถึง
- อุปกรณ์เฉพาะด้าน
- สื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
- สัตว์ที่มีชีวิตซึ่งนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมหรือเพาะพันธุ์
- ยานพาหนะซึ่งนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสาธิต การฝึกฝน หรือการแข่งรถในสิงคโปร์
- อุปกรณ์การแพทย์และสินค้าสำหรับการบรรเทาภัยพิบัติ
- ระบบเทคนิคพิเศษ อุปกรณ์ และสัตว์ที่มีชีวิตที่ใช้สำหรับการแสดง
- สินค้าสำหรับใช้จัดแสดงหรือใช้งานนิทรรศการ งานแสดงสินค้า หรืองานที่คล้ายกัน
- ม้า เรือส่วนตัว หรือ อากาศยานและยานพาหนะที่นำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแข่งขันกีฬาหรืองานที่คล้ายกัน
- ยานพาหนะสำหรับการใช้งานส่วนตัวหรือชั่วคราว
- สินค้าทางวิทยาศาสตร์และสินค้าทางเทคนิคที่ได้รับการอนุมัติ
ทั้งนี้ หากละเมิด จะได้รับโทษ ดังนี้
- หากไม่สามารถส่งสินค้าออกจากสิงคโปร์ตามเวลาที่กำหนดจะถูกปรับไม่เกิน 5,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
- หากยื่นข้อมูลไม่ตรงความเป็นจริง จะถูกปรับไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือมูลค่าเทียบเท่ากับภาษีทุกประเภทที่ต้องจ่าย อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีมูลค่าสูงกว่า หรือถูกจำคุกไม่เกิน 12 เดือน หรือทั้งจำและปรับ
5. การนำเข้าสินค้าที่ถูกส่งออกไปแล้วกลับเข้าประเทศสิงคโปร์
สินค้าที่ผลิตในสิงคโปร์แล้วส่งออกไปตลาดต่างประเทศหากมีการนำกลับเข้ามาในสิงคโปร์ ผู้นำเข้าที่มีการลงทะเบียนไว้กับ Inland Revenue Authority of Singapore (IRAS: http://www.iras.gov.sg) จะได้รับการผ่อนปรนภาษี GST ซึ่งรายการสินค้ามีดังนี้
- สินค้าที่ผลิต ประกอบ หรือดำเนินการในสิงคโปร์
- สินค้าที่นำเข้ามาในสิงคโปร์เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งออกต่อ
- สินค้าที่ส่งออกชั่วคราวเพื่อการซ่อมแซมหรือการเช่า
- สินค้าตัวอย่างที่ส่งออกเพื่อให้ได้รับการสั่งซื้อ
- ยานยนต์ที่จดทะเบียนในสิงคโปร์และส่งออกเพื่อการกีฬา การแข่งขันหรือกิจกรรมที่คล้ายกัน
- ม้า เรือส่วนตัว หรืออากาศยาน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องมีเงื่อนไขตรงตามที่กำหนด ดังนี้
- การส่งออกสินค้าที่มีเจตนาจะนำสินค้ากลับเข้ามาอีกครั้ง
- การส่งออกสินค้าโดยมีใบอนุญาตที่ครอบคลุมถึงการส่งออกชั่วคราว
- สิทธิความเป็นเจ้าของสินค้าไม่ได้โอนให้บุคคลอื่นนอกประเทศสิงคโปร์ในเวลาที่ทำการส่งออกหรือในขณะที่สินค้าอยู่ต่างประเทศ
ในกรณีที่มีการส่งออกสินค้าไปแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธและส่งกลับคืนมายังประเทศสิงคโปร์ผู้ประกอบการสามารถนำสินค้ากลับเข้าประเทศโดยไม่เสียภาษีสินค้าและบริการ (GST) หากตรงตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- สินค้าถูกส่งออกโดยผู้ประกอบการและสินค้าส่งกลับให้ผู้ประกอบการรายเดียวกัน
- ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิในการเป็นเจ้าของสินค้า
- สินค้าที่นำกลับเข้ามาจะต้องอยู่ในสภาพเดิมโดยปราศจากการดัดแปลงหรือเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงขณะอยู่ต่างประเทศ
โดยถ้าหากสินค้าที่นำกลับเข้ามาใหม่นั้นมีการดัดแปลงหรือเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงขณะอยู่ต่างประเทศ ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีสินค้าและบริการ (GST) โดยชำระภาษีที่จุดนำเข้าสินค้า โดยใช้พื้นฐานมูลค่าของสินค้าที่นำกลับเข้ามาใหม่
ในการนำเข้าสินค้าแต่ละประเภทเพื่อจำหน่ายในตลาดสิงคโปร์ จะมีความแตกต่างกันเป็นไปตามระเบียบการนำเข้าสินค้าแต่ละประเภท ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสินค้าสำคัญ 4 ประเภท คือ ข้าว ผัก/ผลไม้สด ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และทราย/แกรนิต ซึ่งรายละเอียดข้อมูลดังนี้
สินค้าข้าว
6. ตัวอย่าง การนำเข้าสินค้าสู่ตลาดสิงคโปร์ อาทิ ข้าว ผัก/ผลไม้สด ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ และทราย/แกรนิต
การนำเข้าข้าวควบคุมโดยกฎหมาย Price Control (Rice) 1990 และ Price Control Act (Chapter 244) ซึ่งออกโดย Ministry of Trade and Industry โดยกำหนดว่า ผู้นำเข้าข้าวจะต้องดำเนินการ ดังนี้
- ผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับหน่วยงานสิงคโปร์ชื่อ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) ก่อน ซึ่งยื่นใบสมัครออนไลน์ได้ที่ Accounting and Corporate Regulatory Authority (acra.gov.sg) นอกจากนี้ บริษัทต้องแต่งตั้งผู้ได้รับมอบอำนาจเพื่อสมัครขอใช้ Corppass (รหัสส่วนตัวสำหรับทำธุรกรรมออนไลน์) และดำเนินการแทนบริษัท โดยสมัครผ่าน http://www.Corppass.gov.sg ซึ่ง Corppass ใช้สำหรับการติดต่อทำธุรกรรมและดำเนินการต่างๆออนไลน์กับราชการ รวมทั้งการเสียภาษี
- ต้องขอใบอนุญาตจาก Enterprise Singapore ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารการนำเข้าข้าว และต้องขอใบอนุญาตการนำเข้า (Import License) จาก Enterprise Singapore ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าเพื่อการค้าส่ง เพื่อเข้ามาจำหน่ายในสิงคโปร์ หรือส่งออกต่อ (Re-export)
Enterprise Singapore กำหนดใบอนุญาตการนำเข้าข้าว ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
อันดับ | ประเภทของใบอนุญาต | ประเภทข้าว |
1 | ใบอนุญาตเพื่อการนำเข้าสำหรับค้าส่งที่เป็น Stockpile Grade Rice | ข้าวขาว (White Rice) Basmati Rice, Parboiled Rice และ Ponni Rice และผู้นำเข้าต้องอยู่ในระบบ Rice Stockpile Scheme (RSS) |
2 | ใบอนุญาตเพื่อการนำเข้าสำหรับค้าส่งที่เป็น Non-Stockpile Grade Rice | ข้าวเหนียว Brown Rice, Red Rice, Cargo Rice และ Wild Rice |
3 | ใบอนุญาตนำเข้าเพื่อการส่งออกต่อ (Re-Export) | ข้าวเพื่อการส่งออกต่อเท่านั้น สินค้าจะต้องเก็บที่ Free Trade Zone (FTZ) |
4 | ใบอนุญาตเพื่อการนำเข้าสำหรับการผลิต | ข้าวขาวหัก 100% สำหรับการผลิตสินค้า |
5 | ใบอนุญาตเพื่อการค้าส่งสินค้าข้าว | ไม่สามารถนำเข้าข้าวจากต่างประเทศใบอนุญาตนี้สำหรับพ่อค้าที่ทำการค้าส่งสินค้าข้าวทุกประเภทเพื่อจำหน่ายในสิงคโปร์ |
การยื่นขอรับใบอนุญาตการนำเข้าข้าว ซึ่งผู้นำเข้าต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในสิงคโปร์และต้องดำเนินการสมัครทางเว็บไซต์ คือ GoBusiness Licensing โดยมีค่าธรรมเนียม 50 ดอลลาร์สิงคโปร์/ใบอนุญาตตลอดชีพ ซึ่ง Price Control Unit จะดำเนินการพิจารณาภายใน 3-5 วันทำการ
- ผู้นำเข้าข้าวต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ Rice Stockpile Scheme (RSS) ซึ่งกำหนดเรื่องเกี่ยวกับการเก็บสต๊อกข้าว ตามกฎหมาย Price Control (Rice) 1990 และ Price Control Act (Chapter 244) เพื่อให้มีข้าวในตลาดเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ
กฎหมายการสต๊อกข้าว โดยผู้นำเข้าข้าวหอม ข้าวขาว ข้าวหัก Basmati Rice, Parboiled Rice และ Ponni Rice ต้องทำการสำรองข้าวสารไว้ในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าแต่ละเดือน โดยกำหนดปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ 50 เมตริกตัน/เดือน ทั้งนี้ สำหรับข้าวกล้อง (Brown Rice) และข้าวเหนียว (Glutinous Rice) ต้องทำการสำรองไว้ปริมาณ 5 เมตริกตัน ซึ่งการสำรองข้าวต้องเก็บไว้ที่โกดังสินค้าของรัฐบาล Singapore Storage & Warehouse Pte. Ltd. (SSW)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป Enterprise Singapore ได้เริ่มใช้ข้อกำหนดใหม่สำหรับ ผู้นำเข้าที่มีใบอนุญาตนำเข้าข้าวทั้ง (1) ข้าวขาว (White Rice) และ (2) Parboiled Rice, Basmati Rice และ Ponni Rice ซึ่ง Enterprise Singapore กำหนดให้คิดปริมาณการสำรองข้าวใน 2 กลุ่มนี้เพียงครั้งเดียว เป็น 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าแต่ละเดือน ซึ่งผู้นำเข้าสามารถที่จะใช้ข้าวใน 2 กลุ่มนี้ทุกประเภทรวมกันเพื่อการคำนวณสำหรับปริมาณในการสำรองข้าว อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดปริมาณขั้นต่ำของปริมาณในการนำเข้า/เดือน ยังคงอยู่ที่ 50 เมตริกตัน
อนึ่ง การยื่นขอเปลี่ยนปริมาณการนำเข้าในแต่ละเดือนนั้น ผู้นำเข้าสามารถยื่นขอได้ 1 ครั้ง/เดือน อย่างไรก็ดี ผู้นำเข้าจะต้องได้รับใบอนุญาตจาก Enterprise Singapore ก่อนวันที่ 25 ของเดือน เพื่อการนำเข้าในเดือนต่อไป สำหรับผู้นำเข้าที่ต้องการนำเข้าลดลง จะต้องขออนุมัติจาก Enterprise Singapore ล่วงหน้า 3 เดือนก่อน
ทั้งนี้ การส่งเอกสารขอรับการอนุญาตให้นำเข้าในแต่ละครั้ง (Permit Declaration) ผู้นำเข้าจะต้องส่งเอกสารทางระบบ TradeNet เท่านั้น
สินค้าผัก/ผลไม้สด
ภายหลังจากที่บริษัทจดทะเบียนกับ Account and Corporate Regulatory Authority (ACRA) และขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจาก Enterprise Singapore แล้ว ต่อไปจะต้องขอลงทะเบียนมีใบอนุญาตนำเข้าผัก/ผลไม้สดไว้กับ Agri-Food & Veterinary Authority (AVA) ผ่านทาง TradeNet จึงสามารถนำเข้าเพื่อจำหน่ายในตลาดสิงคโปร์
ในการนำเข้าสินค้าผัก/ผลไม้สดสู่ตลาดสิงคโปร์ ต้องปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบการนำเข้าของสิงคโปร์ ภายใต้ The Food Regulations Food Regulations – Singapore Statutes Online (agc.gov.sg) / The Control of Plants Act Control of Plants Act – Singapore Statutes Online (agc.gov.sg) ที่มีข้อกำหนดเรื่องสารยาปราบศัตรูพืช สารรักษา/ถนอมผลไม้ตกค้างอย่างเคร่งครัด
เมื่อผู้ประกอบการสมัครขอใบอนุญาตในการนำเข้า จะต้องแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- เลขที่ใบอนุญาตของบริษัท
- รายละเอียดของสินค้า – จะต้องมีการแจ้งถึงรายละเอียดรหัสของสินค้า (CA/SC) และปริมาณสินค้าตามรหัส CA/SC ในหน่วยปริมาณสุทธิที่กำหนดไว้ (ที่สอดคล้องกับรหัส HS)
ทั้งนี้ หน่วยงานที่ทำการตรวจสอบ คือ Food Control Department (FCD) ให้ความสำคัญและตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าอย่างเคร่งครัด โดยจะส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจสินค้าขณะที่นำเข้า หากพบสารตกค้างฯ FCD จะพิจารณาให้ส่งสินค้านั้นกลับประเทศผู้ส่งออก หรือให้ทำลายสินค้าทิ้งทันทีโดยเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้นำเข้า อีกทั้ง อาจดำเนินการทางกฎหมายกับผู้นำเข้า โดยส่งเรื่องฟ้องศาลตามกรณี
จากรายงานข่าวของ Channel NewsAsia กล่าวว่าสิงคโปร์นำเข้าผักกว่า 5 แสนตันต่อปี จาก มาเลเซีย จีน ไทย ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆทั่วโลก ซึ่ง AVA จะมีการสุ่มตรวจสอบการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง โลหะหนัก และสารพิษปนเปื้อนในอาหาร โดยในปี 2560 ที่ผ่านมามีการตรวจสอบสินค้าประเภทอาหาร 8,783 ชนิด พบว่ามีสินค้าน้อยกว่า 5% ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน
สินค้าเครื่องสำอางค์ (Cosmetics)
หน่วยงานที่กำกับดูแล คือ Cosmetic Control Unit (CCU ภายใต้ Health Sciences Authority, Ministry of Health : http://www.hsa.gov.sg)
การนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางค์ควบคุมภายใต้กฎหมาย Health Products (Cosmetic Product – ASEAN Cosmetic Directive : ACD) Regulations 2007 ซึ่งเริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 โดยผู้นำเข้าเครื่องสำอางค์จะต้องแจ้งต่อ CCU ก่อนที่จะทำการจำหน่ายในตลาดสิงคโปร์ โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ก่อนที่จะนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางค์ บุคคลหรือบริษัทต้องแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยัง Cosmetic Control Unit
- สิ่งที่ต้องระบุในการยื่นขอใบอนุญาตนำเข้า
- รายละเอียดของสินค้าเครื่องสำอางค์
- ชื่อตราสินค้า
- สิ่งที่ต้องระบุในการยื่นขอใบอนุญาตนำเข้า
ทั้งนี้ การขอรับใบอนุญาตในการนำเข้านี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.customs.gov.sg ซึ่งภายใต้ ASEAN Cosmetic Directive (ACD) ผู้นำเข้าไม่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าเครื่องสำอางค์
สินค้าทรายและหินแกรนิต
หน่วยงานที่กำกับดูแลการนำเข้า คือ Building and Construction Authority (BCA, http://www.bca.gov.sg) ซึ่งการนำเข้าโดยปกติต้องขอรับใบอนุญาต ยกเว้น การนำเข้าทรายและหินแกรนิตตามรายละเอียดด้านล่างนี้ ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ได้แก่
- การนำเข้าสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม
- การนำเข้าสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ในงานถมชายฝั่งของสิงคโปร์หรืออยู่ในเรือโดยปราศจากการเทียบท่า
ทั้งนี้ก่อนที่ผู้ประกอบการจะสามารถนำเข้าสินค้าเข้ามายังประเทศสิงคโปร์นั้น ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตในการนำเข้าสินค้า โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตนำเข้าทรายและหินแกรนิตไปยัง BCA
- พบกับ CBA เพื่อทำการทดสอบสินค้าสำหรับการนำเข้า
หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ให้นำหมายเลขใบอนุญาตไปลงทะเบียนผ่านโปรแกรม TradeNet® ทางเว็บไซต์ของศุลกากร (Singapore Customs) เพื่อการนำเข้าสินค้าต่อไป