ทรัพย์สินทางปัญญา

หน่วยงาน Intellectual Property Office of Singapore (IPOS : www.ipos.gog.sg)  ภายใต้ Ministry of Law  ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ในสิงคโปร์

สิงคโปร์มีข้อตกลงเกี่ยวกับ “สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวข้องกับการค้า” (Trade Related Aspects of Intellectual Property rights : TRIPS) ซึ่งเป็นข้อตกลงนานาชาติที่ดำเนินการโดย World Trade Organization (WTO) กำหนดระเบียบมาตรฐานขั้นต่ำของรูปแบบที่หลากหลายด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่สมาชิก WTO

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights : IPR) เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่คิดขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่ง IPOS จะทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทำให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างทั่วถึง และยื่นเรื่องขอจดจดทะเบียนต่อสำนักงาน IPOS สิงคโปร์ ให้ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมาย

ทั้งนี้ การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศ หรือการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของพลเมืองหรือบุคคลที่มีสัญชาติของประเทศที่เป็นสมาชิก WTO หรือประเทศสมาชิกอนุสัญญากรุงเบิร์น  ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองโดยเฉพาะตามกฎหมายของแต่ละประเทศหรือดินแดนที่มีผลบังคับใช้เท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีผลบังคับใช้ในสิงคโปร์ จึงควรต้องยื่นขอจดทะเบียนฯต่อสำนักงาน IPOS  ภายใต้ข้อกำหนดของสิงคโปร์ ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนฯ แบ่งประเภทได้ดังนี้

  • เจ้าของกิจการธุรกิจ ภายใต้ Trade Marks และ Geographical Indications
  • ผู้สร้างสรรค์ ภายใต้ Copyrights (on Musical, Literary, Dramatic and Artistic Works)
  • นักนวัตกรรม ภายใต้ Patents, Industrial Designs, Trade Secrets, Confidential Information และ Layout-designs of Integrated Circuits

อนึ่ง ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาของสิงคโปร์ อยู่ภายใต้กฎหมายแต่ละประเภทซึ่งให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน ยกเว้น
1) กฎหมายอนุสิทธิบัตร ซึ่งสิงคโปร์ไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครอง  
2) กฎหมายลิขสิทธิ์ (Copyright) การให้ความคุ้มครองในสิงคโปร์จะเป็นไปโดยอัตโนมัติเช่นในทุกประเทศทั่วโลกตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของสิงคโปร์

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาในสิงคโปร์กฎหมายที่ใช้คุ้มครอง
1. สิทธิบัตร (Patents)Patent Act (Cap 221, 2005 Rev Ed)
2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Registered designs)Registered Designs Act (Cap 226,2005 Rev Ed)
3. เครื่องหมายการค้า (Trademark)Trade Marks Act (Cap 332,2005 Rev Ed)
4. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical indications and appellations of origin)Geographical indications Act (Cap 117B,1999 Rev Ed) และสามารถคุ้มครองภายใต้ The Trade Marks Act (Cap 332)
5. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-design of an integrated circuit)Layout-designs of integrated circuits Act (Cap 159A,2000 Rev Ed)
6. การคุ้มครองพันธุ์พืช (Plant varieties protection)Plant varieties protection Act (Cap 232A,2006 Rev Ed)
7. ลิขสิทธิ์ (Copyright)Copyright Act (Cap 63,2006 Rev Ed)

เนื่องจากสิงคโปร์เป็นสมาชิกขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก WIPO (World Intellectual Property Organization) แห่งสหประชาชาติ มีสำนักงาน WIPO ในสิงคโปร์ซึ่งถือเป็นแห่งแรกในเอเซีย ทำหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย เพื่อผลักดันการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียนให้สามารถนำไปสู่การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย